ทำความรู้จักกับ ที่ปรึกษาการผลิต ตอนที่ 1 ที่ปรึกษาการผลิต คือ???


ที่ปรึกษาการผลิต คือผู้ที่ทำหน้าที่ริเริ่มโครงการ ทำงบประมาณ ขอทุนสนับสนุนจากภาครัฐ สร้างระบบการผลิตอัตโนมัติให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการ และวางระบบการซ่อมบำรุง รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ และประสานงาน-ควบคุมทำงานร่วมกับเอาท์ซอร์ซ เช่น maker หรือ SI (System Integrators)

ทำไมผู้ประกอบการในปัจจุบันต้องการปรับปรุงการผลิตสู่ Smart Factory ?


เพราะต้องการให้สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้อยู่เสมอ การปรับปรุงการผลิตไม่เพียงแค่เป็นการลดต้นทุนเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มคุณภาพการผลิต สามารถติดตามระบบการผลิต และควบคุมการผลิตได้อย่างแน่นอน วางแผน คาดการณ์ได้ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาเป็นระบบการผลิตที่ยืดหยุ่น สามารถผลิตสินค้าที่หลากหลายได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ และยังรวมถึงการสร้างความมั่นใจว่าเป็นการผลิตที่ไร้สัมผัสโดยคน ซึ่งเหมาะมากกับสถานการณ์ที่มีโควิท 19 ในปัจจุบัน(อุตสาหกรรมอาหาร)


ทำไม ผู้ประกอบการผลิต ต้องใช้งาน "ที่ปรึกษาการผลิต" ???


     ผู้ประการบางท่านอาจคิดว่า เมื่อต้องการปรับปรุงการผลิตก็แค่จ้างเอาท์ซอร์ซ เช่น maker หรือ SI มาทำให้ซึ่งก็เป็นอะไรที่ง่าย แต่ปัญหาเหล่านี้ จะตอบได้ไหม และท่านเชื่อในคำตอบหรือไม่?

 

       -ทำงานได้จริงไหม ต่อเนื่องได้ไหม 

       -คุณภาพการผลิตตามที่ต้องการไหม 

       -อัตราการผลิตได้ไหม 

       -งบประมาณที่ใช้คุ้มค่าไหม แล้วจะรู้ได้ไงว่าเหมาะสมแล้ว

       -จัดการกับวัตถุดิบก่อนเข้าระบบผลิตอย่างไร just in time ไหม

       -จัดการกับสินค้าที่ผลิตแล้วอย่างไร 

       -จะส่งสินค้าไปที่คลังอย่างไร เหมาะสมที่สุดอย่างไร

       -จะส่งสินค้าจากคลังไปรถบรรทุกอย่างไร เหมาะสมที่สุดอย่างไร

       -ระบบนั้น ลีน (lean) หรือยัง

        -ระบบทางกล และไฟฟ้าที่เลือกใช้ (เช่น servo motor) นั้นเหมาะสมหรือไม่ ทนทานน่าเชื่อถือไหม ซื้อใหม่ราคาสูงไหม จัดส่งนานไหม

       -ระบบควบคุมที่ใช้ เหมาะสมหรือไม่ หาคนอื่นมาแก้ไขได้ไหม หรือต้องพึ่งผู้พัฒนาเดิมตลอดไป และระบบทันสมัยคุ้มค่าไหม

       -จะควบคุมให้เป็นไปตามแผน ไม่ล่าช้ากว่าแผนอย่างไร ใครควบคุม? 

        -ควบคุมให้ใช้วัสดุ อุปกรณ์ตามที่เสนอได้อย่างไร ใครควบคุม?

        -ควบคุมคุณภาพของเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ เช่น หุ่นยนต์ workpiece positioner และ end of arm tooling เป็นต้นนั้นได้อย่างไร ใครควบคุม?

       -ถ้าวันหนึ่งต้องเปลี่ยนแบรนด์เอุปกรณ์ขับเคลื่อน เช่น servo motor แล้วต้องเปลี่ยนระบบควบคุมยกชุดไหม (แบบนี้เรื่องใหญ่)

       -ซ่อมบำรุงจะใช้ต้นทุนสูงไหม และจะมีปัญหาไหม 

       -แผนการบำรุงรักษาเป็นไง PM ยังไง ใครทำแผน? มีประสิทธิภาพแค่ไหน 

       -ระบบการผลิตนี้สามารถขอทุนจากภาครัฐได้หรือไม่ และใครเป็นคนทำเอกสาร และทำอย่างไรให้ขอได้

       -ถ้าเอาท์ซอร์ซทำงานล่าช้า หรือไม่สำเร็จจะทำอย่างไร


     พวกนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากประสบการณ์จริง และใครล่ะควรตอบ?   แน่นอนคนที่ตอบต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการในงานนี้เป็นอย่างดี และตอบโดยใช้ข้อมูลเทคนิคเป็นเกณฑ์ตัดสิน ถึงจะมั่นใจได้ว่าดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการ นี่จึงเป็นหน้าที่ของ "ที่ปรึกษาการผลิต" 

ตัวอย่างการพัฒนาสู่ระบบการผลิตอัตโนมัติ Smart Factory

ระบบป้อนตะกร้าเข้าเครื่องล้างตะกร้า

ระบบการผลิตเดิมใช้คนงานจำนวนมากป้อนตะกร้าเข้าเครื่องล้างฯ ซึ่งมีปัญหาความต่อเนื่อง อัตราทำงาน ตะกร้าหาย มีขยะในตะกร้า ป้อนด้านผิด และป้อนตะกร้าแตกเข้าไป คนงานไม่มาทำงาน

รูประบบการผลิตเดิม

แบบระบบการผลิตใหม่ในตัวอย่างนี้ก็คือ แบบการผลิตที่เปลี่ยนจากคนงานมาใช้ระบบอัตโนมัติรูปแบบต่างๆ และต้องทำงานได้ที่อัตราการผลิตตามที่ต้องการ และต้องมีความผิดพลาดห้ามเกินที่กำหนด โดยรวมถึง

-ต้องนับ/ตรวจแตกตะกร้าได้

-เทขยะออกจากตะกร้าได้

-ควบคุมให้ตะกร้าเข้าด้านสีที่ถูกต้องได้

-ทำงาน 24 ชั่วโมงติดต่อกัน

รูประบบการผลิตใหม่

ระบบหุ่นยนต์หยิบตะกร้า (รุ่น1)

               

สิ่งแรกที่ทำคือศึกษาระบบเดิม และรวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อมาทำ  "แบบระบบการผลิตใหม่" ที่เป็นอัตโนมัติและมีข้อกำหนดตามที่ต้องการ และเมื่อได้แล้วก็จะสามารถสร้างแบบร่าง 3D และรายละเอียดชิ้นส่วน อุปกรณ์ที่ใช้ และงบประมาณได้ ซึ่งถ้าระบบนี้มีความเป็นนวัตกรรม ก็สามารถขอรับการสนุนการหน่วนงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้อีก


ขอบเขตงานของ "ที่ปรึกษาการผลิต"

"ที่ปรึกษาการผลิต" ทำงานใน 4 กลุ่มงานดังนี้

กลุ่มงานที่ 1.ริเริ่มโครงการ 

-ศึกษาระบบการผลิตเดิม

-รวบรวมข้อกำหนดที่ต้องการ และพิจารณาความเป็นไปได้

-ร่างแบบ และทำ "แบบระบบการผลิตใหม่"

-ทำงบประมาณ / รายงาน 

-นำเสนอโครงการ

-ทำเอกสาร และทำไฟล์นำเสนอ สำหรับการขอทุนต่อหน่วยงานรัฐ (ถ้ามี) หรือปรับโครงการให้เข้าเงือนไขทุน (ตามตกลง)

กลุ่มงานที่ 2.ประสานงานเอาท์ซอร์ซ

-วางข้อกำหนดเพื่อเลือกเอาท์ซอร์ซ

-พิจารณาทางเทคนิครายละเอียดโครงการที่เอาท์ซอร์ซได้เสนอมา เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ 

-จัดทำแผนโครงการ

-ติดตามงาน ตรวจงาน และตรวจผลงาน

-ทำรายงานความคืบหน้าโครงการ


กลุ่มงานที่ 3.สนับสนุน และแก้ไขปัญหา 

-สนับสนุน และควบคุมให้เป็นไปตามแผนโครงการ และงบประมาณ

-แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น

-ทำแผนด้านการซ่อมบำรุง (ตามตกลง)

-ทำคู่มือการใช้งาน (ตามตกลง)

-ทำคู่มือซ่อมบำรุง (ตามตกลง)

-ทำคู่มือ PM (ตามตกลง)


รูปขอบเขตงาน ที่ปรึกษาการผลิต


ตอนหน้า จะพูดถึง "ที่ปรึกษาการผลิต" ทำงานอย่างไร เข้าไปแก้ไขปัญหายังได้ยังไง และรูปแบบการดีลเป็นอย่างไร


"มีปัญหาด้านระบบการผลิตปรึกษา ที่ปรึกษาการผลิต เบื้องต้นฟรี"

อ่านเพิ่มเติม